ลูกจ้างถูกบังคับให้เขียนใบลาออก ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ ถือเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 2468/2565

จัดการฝ่ายบุคคลพูดบีบบังคับให้ลูกจ้างเขียนใบลาออก อ้างว่าหากไม่เขียนจะมีหนังสือปลดอยู่ดีและจะทำหนังสือแจ้งไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ให้จ่ายเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง การแสดงเจตนาลาออกดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ กรณีนี้ถือว่าเป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ เป็นการเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ตำแหน่งสุดท้ายเป็นวิศวกร ปฏิบัติงานที่จังหวัด A ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 73,600 บาท ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม 2563 จำเลยบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออกและยอมรับค่าชดเชยเพียงครึ่งหนึ่ง โดยขู่ว่าหากไม่เขียนใบลาออกจำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และค่าชดเชย โจทก์จำยอมต้องเขียนใบลาออกทั้งที่ไม่ประสงค์จะลาออก โจทก์ทำงานมาครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 300 วัน เป็นเงินจำนวน 736,000 บาท  แต่จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้เพียง 368,000 บาท  ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 368,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

จำเลยให้การว่า โครงการที่โจทก์รับผิดชอบมีผลประกอบการขาดทุน จำเลยได้รับความเสียหายต้องสูญเสียเงินในการแก้ไขงานก่อสร้างจำนวนมาก โจทก์ตัดสินใจยื่นใบลาออกเพื่อไปดูแลบุตรสาวโดยระบุเหตุผลว่า ดูแลครอบครัว โจทก์มีวุฒิที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง มีเวลาไตร่ตรอง จำเลยไม่ได้ขู่บังคับ

           ศาลแรงงานภาค 2 พิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย 368,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า เมื่อพิจารณาประกอบสภาพชีวิตครอบครัวโจทก์ซึ่งมีภาระ ต้องเลี้ยงดูบุตร 2 คน กำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษาที่กรุงเทพฯ และมัธยมศึกษาจังหวัด A ย่อมมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งโจทก์อายุ 51 ปี ทำงานกับจำเลยมากกว่า 10 ปี การที่โจทก์ จะลาออกจากงานเพื่อไปหางานใหม่ที่มั่นคง มีรายได้และสวัสดิการเช่นบริษัทจำเลย ไม่ใช่เรื่องง่าย ประกอบกับปี 2563 เป็นช่วงที่ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกมีการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผล กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ บริษัทส่วนใหญ่ต้องลดต้นทุนให้ธุรกิจอยู่รอด โอกาสที่จะรับพนักงานเพิ่มย่อมมีน้อย โจทก์มีบุตรที่ยังศึกษาอยู่ที่จังหวัด A  งานใหม่ของโจทก์มีความมั่นคง รายได้และสวัสดิการน้อยกว่าบริษัทจำเลยมาก ในช่วงแรกยังต้องปฏิบัติงานที่จังหวัด A หากโจทก์ต้องการดูแลครอบครัวและการทำงานที่เดิมเดินทางไม่สะดวกตามเหตุผลที่ระบุในใบลาออก  โจทก์ก็น่าจะเลือกปฏิบัติงานที่กรุงเทพฯ พฤติการณ์แห่งคดีเชื่อได้ว่า จำเลยได้รับความเสียหายต้องสูญเสียเงินในการแก้ไขงานก่อสร้างในโครงการจำนวนมาก เป็นเหตุให้นาย ดำ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลพูดบีบบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออก อ้างว่าหากไม่เขียนจะมีหนังสือปลดโจทก์อยู่ดีและจะทำหนังสือแจ้งไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ให้จ่ายเงินสมทบ
ในส่วนของนายจ้าง โจทก์ไม่มีเวลาครุ่นคิด กังวลหากต้องตกงาน ครอบครัวต้องได้รับความลำบาก โจทก์ไม่มีอิสระในการตัดสินใจ แต่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยผู้เป็นนายจ้างและถูกบังคับ
ให้ต้องเลือกลาออก การแสดงเจตนาลาออกของโจทก์ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ    กรณีถือว่าเป็นการที่จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ เป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ขาดแก่โจทก์  
          ที่จำเลยอุทธรณ์ในทำนองว่า โจทก์ตัดสินใจเขียนใบลาออกเอง โจทก์มีวุฒิภาวะ คุณวุฒิ และวัยวุฒิที่ควรทราบถึงสิทธิและผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง 
ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน


       

 

ในส่วนของนายจ้าง โจทก์ไม่มีเวลาครุ่นคิด กังวลหากต้องตกงาน ครอบครัวต้องได้รับความลำบาก โจทก์ไม่มีอิสระในการตัดสินใจ แต่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยผู้เป็นนายจ้างและถูกบังคับ

ให้ต้องเลือกลาออก การแสดงเจตนาลาออกของโจทก์ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ  

          กรณีถือว่าเป็นการที่จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ เป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ขาดแก่โจทก์  

          ที่จำเลยอุทธรณ์ในทำนองว่า โจทก์ตัดสินใจเขียนใบลาออกเอง โจทก์มีวุฒิภาวะ คุณวุฒิ และวัยวุฒิที่ควรทราบถึงสิทธิและผลประโยชน์ที่ตนจะได้รับ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง 

ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน

แชร์บทความ

Leave a Comment

Scroll to Top